เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [3. ปัญญาวรรค] 6. ปาฏิหาริยกถา
อาโลกสัญญาจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอาโลกสัญญานั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้
พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อาโลกสัญญา
นั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อาโลกสัญญาจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (3)
อวิกเขปะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อวิกเขปะย่อมกำจัดอุทธัจจะ
ได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอวิกเขปะนั้น ชน
เหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น อวิกเขปะ
จึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอวิกเขปะนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้ พึงเจริญอย่างนี้
พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อวิกเขปะนั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้
เพราะฉะนั้น อวิกเขปะจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (4)
ธัมมววัตถานย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ธัมมววัตถานย่อมกำจัด
วิจิกิจฉาได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (5)
ญาณย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ญาณย่อมกำจัดอวิชชาได้
เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (6)
ปามุชชะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ปามุชชะย่อมกำจัดอรติได้
เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (7)
ปฐมฌานย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ ปฐมฌานย่อมกำจัดนิวรณ์
ทั้งหลายได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ฯลฯ (26 + 7 = 33)
อรหัตตมรรคย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ อรหัตตมรรคย่อมกำจัด
กิเลสได้ทั้งหมด เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ ชนเหล่าใดประกอบด้วยอรหัตต-
มรรคนั้น ชนเหล่านั้นทั้งหมดเป็นผู้มีจิตหมดจด มีความดำริไม่ขุ่นมัว เพราะฉะนั้น
อรหัตตมรรคจึงเป็นอาเทสนาปาฏิหาริย์ และอรหัตตมรรคนั้นพึงปฏิบัติอย่างนี้
พึงเจริญอย่างนี้ พึงทำให้มากอย่างนี้ พึงตั้งสติที่เป็นธรรมสมควรแก่อรหัตตมรรค
นั้นไว้ให้มั่นอย่างนี้ เพราะฉะนั้น อรหัตตมรรคจึงเป็นอนุสาสนีปาฏิหาริย์ (4 + 33
=37)
[32] เนกขัมมะย่อมสำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่าอิทธิ เนกขัมมะย่อมกำจัด
กามฉันทะได้ เพราะฉะนั้น จึงเป็นปาฏิหาริย์ อิทธิและปาฏิหาริย์นี้เรียกว่า
อิทธิปาฏิหาริย์


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :589 }